กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

สนับสนุนโอกาสทางการศึกษาให้กับนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่า และการกู้ยืมเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษากำหนดไว้

คำถามที่พบบ่อย

**ทดสอบการใช้งาน** อยู่ระหว่างการรวบรวมและจัดทำคำถามที่พบบ่อยเพิ่มเติม

คำถามทั่วไป

การให้กู้ยืมในปีการศึกษา 2568 เป็นแนวทางการจัดสรรใช่หรือไม่

เป็นแบบจัดสรรวงเงินตามงบประมาณที่กองทุนฯ มีอยู่ โดยจะแจ้งรายละเอียดไปที่สถานศึกษา เพื่อคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ที่กองทุนฯ กำหนด

นักศึกษาใหม่ จะกู้ กยศ. ต้องสำรองจ่ายค่าเทอมหรือไม่หรือไม่

ต้องสำรองจ่ายค่าเทอมไปก่อน เมื่อการกู้ยืมเสร็จสมบูรณ์แล้วก็จะได้รับเงินคืนในภายหลัง 
– วิธีการคืนเงิน : จะคืนเงินที่สำรองจ่ายผ่านพร้อมเพย์เลขประชาชนของผู้กู้ยืม 
– ระยะเวลาโดยประมาณ : กู้ตอนต้นเทอมอาจจะได้รับเงินคืนช่วงปลายเทอมเป็นต้นไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับรอบการส่งเอกสารของผู้กู้ และรอบการโอนเงินที่ธนาคารมาให้มหาวิทยาลัย* 

*ธนาคารจะโอนเงินค่าเทอมมาที่มหาวิทยาลัย จากนั้นมหาวิทยาลัยก็จะโอนเงินคืนผู้กู้ยืมที่สำรองจ่าย 

กรณีผู้กู้ยืมเงินไม่ได้ยื่นคำขอกู้ยืมเงินในภาคเรียนที่ 1 แต่ประสงค์จะขอกู้ยืมในภาคเรียนที่ 2 จะสามารถทำได้หรือไม่

ไม่สามารถดำเนินการได้ ผู้กู้ยืมจะต้องยื่นขอกู้ยืมเงินผ่านระบบ DSL ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 เป็นต้นไป

นักเรียน/นักศึกษา มีสิทธิ์กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาได้ทุกคนหรือไม่

ขอเรียนว่า กองทุนมีวัตถุประสงค์สนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาด้วยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาแก่นักเรียน นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในลักษณะต่างๆ ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จนถึงระดับปริญญาตรี เป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าครองชีพ ไม่เกินขอบเขตการให้เงินกู้ยืมที่กองทุนกำหนด ซึ่งนักเรียน/นักศึกษาที่จะกู้ยืมเงินดังกล่าว จะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎ ระเบียบ ประกาศและหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่กองทุนกำหนด

กรณีผู้กู้ยืมเป็นบุตรข้าราชการหรือประกอบอาชีพอื่นๆ ซึ่งมีรายได้เกิน 360,000 บาท/ปี แต่มีภาระค่าใช้จ่ายอื่นๆ เมื่อหักลบแล้วน้อยกว่า 360,000 บาท/ปี จะมีสิทธิกู้ยืมหรือไม่

การพิจารณารายได้ต่อครอบครัว ให้พิจารณาจากรายได้รวมทั้งหมดก่อนหักค่าใช้จ่าย ซึ่งไม่สามารถนำรายจ่ายอื่นๆ มาหักลบ

บุคคลใดเป็นผู้รับรองรายได้ครอบครัว

1. กรณีมีรายได้ประจำ ใช้สลิปเงินเดือน/หนังสือรับรองเงินเดือนจากหน่วยงาน (ผู้มีอำนาจของหน่วยงานลงนาม) การกรอกรายได้ต้องระบุให้ตรงกับหลักฐานที่แนบและตรงกับข้อมูลที่บันทึกในระบบ

2. กรณีไม่มีรายได้ประจำ ใช้แบบฟอร์ม กยศ. 102

– การกรอกรายได้ต้องระบุข้อมูลให้ตรงกับหนังสือรับรองรายได้ครอบครัวของผู้ขอกู้ยืมเงิน (กยศ.102) และข้อมูลที่บันทึกในระบบ

– สำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ/ข้าราชการ/เอกสารอื่นใดรับรองว่าเป็นข้าราชการจากหน่วยงานที่ผู้รับรองได้สังกัด เจ้าของบัตรลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องด้วยตนเองเท่านั้น

เกี่ยวกับการทำจิตอาสา

ผู้กู้ กยศ. ที่ มจพ. ใช้จิตอาสากี่ชั่วโมง

ผู้กู้รายใหม่ใช้จิตอาสาอย่างน้อย 1 ชั่วโมง และผู้กู้รายเก่าต่อเนื่อง มจพ. ใช้จิตอาสาอย่างน้อย 36 ชั่วโมง กรณีเป็นผู้กู้ที่ลาออกจาก มจพ. แล้วสอบเข้ามาเรียนใหม่ใช้จิตอาสาอย่างน้อย 36 ชั่วโมง

ผู้กู้จะต้องส่งจิตอาสาทุกเทอมที่ขอกู้หรือไม่

การส่งชั่วโมงจิตอาสาให้ส่ง 1 ครั้ง/ปีการศึกษา โดยจะส่งพร้อมกับเอกสารกู้ยืมในเทอม 1 เท่านั้น เทอม 2 ไม่ต้องส่งจิตอาสา แต่ให้ทำสะสมไว้เพื่อยื่นในปีการศึกษาถัดไป

สามารถเรียนหลักสูตร Set e-learning จนครบ 36 ชั่วโมงหรือไม่

สามารถเรียนได้จนครบ 36 ชั่วโมง โดยในแต่ละวันจะเรียนกี่ชั่วโมงก็ได้

บริจาคโลหิต สามารถนำมาเป็นชั่วโมงจิตอาสาได้หรือไม่

สามารถใช้ได้ โดยการบริจาค 1 ครั้ง จะได้จิตอาสา 8 ชั่วโมง ในรอบหนึ่งปีจะบริจาคกี่ครั้งก็ได้ (ตามหลักเกณฑ์ของการรับบริจาค จะบริจาคได้ทุก 3 เดือน) หลักฐานที่นำมาใช้ให้ดูที่เว็บไซต์กองกิจการนักศึกษา  https://sa.op.kmutnb.ac.th/jit-ar-sa

**ทดสอบการใช้งาน** อยู่ระหว่างการรวบรวมและจัดทำคำถามที่พบบ่อยเพิ่มเติม

ติดต่อเรา

มีข้อสงสัย? ติดต่อเราได้ที่นี่