ผู้กู้ที่ส่งเอกสารแบบเบิกเงินกู้ยืมในแต่ละเทอมให้มหาวิทยาลัยแล้ว มหาวิทยาลัยจะทำการลงนามแบบเบิกเงินกู้ยืมให้ผู้กู้ผ่านระบบ DSL ภายในระยะเวลา 30 วันทำการ (ไม่รวมวันหยุด) และเมื่อลงนามสำเร็จสมบูรณ์แล้วผู้กู้จะได้ข้อความแจ้งเตือนผ่านระบบ DSL หรือที่แอปพลิเคชัน กยศ. Connect ว่า “การลงนามแบบเบิกเงินกู้ยืมเสร็จสมบูรณ์แล้ว” ผู้กู้ก็จะได้รับเงินตามจำนวนที่ขอกู้ ดังนี้
ค่าครองชีพ
- ผู้กู้จะได้รับค่าครองชีพเดือนละ 3,000 บาท ระยะเวลา 6 เดือน ต่อ 1 ภาคเรียน รวมเป็นเงิน 18,000 บาท/คน/ภาคเรียน
- แนวทางการโอนเงินค่าครองชีพ
การโอนเงินค่าครองชีพ | เงื่อนไข | ผู้รับผิดชอบและเบอร์ติดต่อ |
เดือนที่ 1 | เมื่อได้รับแจ้งเตือนการลงนามแบบเบิกเงินกู้ยืมเสร็จสมบูรณ์แล้ว จะได้รับเงินค่าครองชีพเดือนที่ 1 (งวดแรก) ภายใน 7 วัน | ธนาคารกรุงไทย โทร. 0 2203 2182, 0 2203 2187 ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โทร. 0 2650 6999 ต่อ 1063, 1160 |
เดือนที่ 2 | จะได้ช้ากว่า 30 วัน เนื่องจากต้องรอธนาคารตรวจสอบเอกสารต้นฉบับให้เรียบร้อยก่อน ถ้าถูกต้องแล้วก็จะโอนเงินให้ผู้กู้ต่อไป | ธนาคารกรุงไทย โทร. 0 2203 2182, 0 2203 2187 ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โทร. 0 2650 6999 ต่อ 1063, 1160 |
เดือนที่ 3-6 | จะได้รับเงินค่าครองชีพตรงกับวันที่ได้รับในเดือนที่ 1 และอาจจะมีการโอนทบยอดของเดือนที่ผ่านไปแล้วให้ด้วย | ธนาคารกรุงไทย โทร. 0 2203 2182, 0 2203 2187 ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โทร. 0 2650 6999 ต่อ 1063, 1160 |
- กำหนดการโอนเงินค่าครองชีพในแต่ละภาคเรียน
ภาคเรียนที่ | ระดับการศึกษา | งวดแรกเป็นของเดือน | งวดสุดท้ายเป็นของเดือน |
1 | ปวช. | พฤษภาคม | ตุลาคม |
1 | ป.ตรี | มิถุนายน | พฤศจิกายน |
1 | ป.ตรี (วิทยาลัยนานาชาติ) | สิงหาคม | มกราคม |
สำหรับภาคเรียนที่ 2 ผู้กู้จะต้องต้องยื่นเบิกเงินกู้ยืมและส่งเอกสารตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดถึงจะได้รับเงินค่าครองชีพในภาคเรียนนี้
ภาคเรียนที่ | ระดับการศึกษา | งวดแรกเป็นของเดือน | งวดสุดท้ายเป็นของเดือน |
2 | ปวช. | พฤศจิกายน | เมษายน |
2 | ป.ตรี | ธันวาคม | พฤษภาคม |
2 | ป.ตรี (วิทยาลัยนานาชาติ) | กุมภาพันธ์ | กรกฎาคม |
- หากยังไม่ได้รับเงินค่าครองชีพ ในแต่ละงวดอาจมีสาเหตุต่อไปนี้
- ไม่ได้ค่าครองชีพเดือนที่ 1 อาจเป็นเพราะผู้กู้ไม่ได้ขอกู้ค่าครองชีพ สามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเองโดยดูจากแบบเบิกเงินกู้ยืมในระบบ DSL ของเทอมนั้น ๆ
- ไม่ได้ค่าครองชีพเดือนที่ 2 ธนาคารตรวจเอกสารการกู้ยืมแล้วพบว่าเอกสารไม่ถูกต้อง/ไม่ครบถ้วน เช่น ผู้กู้ยืมเงินลงลายมือชื่อแทนบิดา มารดา , แนบไฟล์ที่มีข้อความ/เนื้อหา ขาดหายบางส่วน ไม่ครบถ้วนตามฟอร์ม , พยานมิได้ลงนามในสัญญา เป็นต้น โดยทางธนาคารจะแจ้งข้อมูลกลับในระบบ DSL ให้ได้รับทราบ และสถานศึกษาจะต้องแจ้งให้ผู้กู้ยืมแก้ไขเอกสารให้ถูกต้องแล้วส่งให้ธนาคารโดยเร็ว เมื่อธนาคารตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของเอกสารเรียบร้อยแล้ว ผู้กู้ยืมจึงจะได้รับโอนเงินค่าครองชีพในเดือนที่ 2 เป็นต้นไป
ค่าเล่าเรียน
กองทุนจะโอนเงินให้แก่สถานศึกษาทุกวันที่ 5, 15 และ 25 ของเดือน เมื่อธนาคารตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของเอกสาร และตรงกับข้อมูลที่ได้รับจากระบบ DSL
การคืนเงินค่าเล่าเรียน (ค่าเทอม) ที่สำรองจ่าย
ผู้กู้ยืมที่ได้สำรองเงินจ่ายค่าเทอมไปก่อนแล้ว หากในแบบเบิกเงินกู้ยืมได้ขอกู้ค่าเทอมไว้ก็จะได้รับเงินค่าเทอมคืน โดยมีขั้นตอนต่อไปนี้
ขั้นตอน | เงื่อนไข | ผู้รับผิดชอบ |
1. ผู้กู้ผูกพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชน | ทันทีที่ส่งเอกสารกู้ยืมที่มหาวิทยาลัยเสร็จแล้ว จะผูกไว้กับธนาคารได้ก็ได้ที่ต้องการให้เงินเข้า ถ้าผูกไว้ก่อนหน้านี้แล้วก็ใช้ได้เลย | ผู้กู้ยืม [ วิธีสมัครใช้พร้อมเพย์ ] |
2. ผู้กู้รอการแจ้งเตือนที่แอปฯ กยศ. แจ้งเรื่องกองทุนได้โอนเงินค่าเล่าเรียนให้สถานศึกษาแล้ว | ธนาคารต้องตรวจเอกสารให้ครบถ้วนถูกต้องแล้วถึงจะโอนเงินให้สถานศึกษาโดยต้องรอมากกว่า 30 วัน นับจากวันลงนามแบบเบิกเงินเสร็จสมบูรณ์แล้ว | ธนาคารกรุงไทย โทร. 0 2203 2182, 0 2203 2187 ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โทร. 0 2650 6999 ต่อ 1063, 1160 |
3. มหาวิทยาลัยตรวจสอบรายชื่อ | มหาวิทยาลัยตรวจสอบรายชื่อที่ได้รับแจ้งเตือนการโอนเงินทุกวันที่ 5, 15 และ 25 ของเดือน และส่งรายชื่อให้กองคลัง มจพ. ดำเนินการต่อไป | กลุ่มงานสวัสดิการนักศึกษา กองกิจการนักศึกษา โทร. 0 2555 2000 ต่อ 1150 |
4. มหาวิทยาลัยตรวจสอบจำนวนเงิน และออกใบเสร็จค่าเทอม | มหาวิทยาลัยตรวจสอบจำนวนเงินที่ธนาคารโอนให้ตรงกับจำนวนเงินค่าลงทะเบียนที่ผู้กู้สำรองจ่ายไป โดยในขั้นตอนนี้อาจใช้เวลาประมาณ 15-30 วันทำการ (ไม่รวมวันหยุด) | กลุ่มงานการเงิน กองคลัง โทร. 0 2555 2000 ต่อ 1605 |
5. มหาวิทยาลัยโอนเงินคืนค่าเทอม | มหาวิทยาลัยโอนเงินคืนผ่านพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชน | กลุ่มงานการเงิน กองคลัง โทร. 0 2555 2000 ต่อ 1605 |
ใบเสร็จค่าเทอมของคนที่ใช้สิทธิ์ล็อกรหัส
มหาวิทยาลัยจะออกใบเสร็จค่าเทอมให้หลังจากธนาคารโอนเงินค่าเทอมให้กับมหาวิทยาลัยแล้ว
สำหรับผู้กู้ที่ได้รับสิทธิ์ล็อกรหัสแล้ว ในระบบจะขึ้นยอดค้างชำระจำนวน…….บาท แบบนี้ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องสำรองจ่าย ถือว่าเป็นปกติ และสามารถเข้าเรียน-เข้าสอบได้ตามปกติ จะขึ้น “ยอดค้างชำระรวม” จนกว่ามหาวิทยาลัยจะออกใบเสร็จค่าเทอมเรียบร้อยแล้ว ตามขั้นตอนที่ 3
แหล่งข้อมูล : https://www.studentloan.or.th/th/highlight/1547349361
Comments are closed